Vています กับ Vてあります |
การแสดงสภาพ
ก่อนที่จะทำความเข้าใจในไวยากรณ์เรื่องนี้
เราจำเป็นต้องรู้จัก
อกรรมกริยา
และ
สกรรมกริยา เสียก่อน
สกรรมกริยา(vt)
คือกริยาที่ต้องการกรรม
เช่น くるまをとめました。(จอดรถ)
อกรรมกริยา(vi) คือ
กริยาที่ไม่ต้องการกรรม
เช่น くるまがとまっています。(รถจอดอยู่)
ในภาษาไทยคำว่า
“จอด”
เป็นได้ทั้งสกรรมกริยาและอกรรมกริยา
แต่คำว่า
“จอด”ในภาษาญี่ปุ่นมี
2 ตัว คือ とめますที่เป็นสกรรมกริยา(vt) และ とまりますที่เป็นอกรรมกริยา(vi)
(ดูประโยคตัวอย่างข้างบน)
วิธีดูง่ายๆว่าตัวไหนเป็นสกรรมกริยาหรืออกรรมกริยาก็คือสังเกตที่คำช่วยค่ะ
ถ้าเป็นสกรรมกริยาคำช่วยจะเป็นを ส่วนอกรรมกริยาคำช่วยจะเป็น
が
อย่างไรก็ตามก็มีบ้างที่ในประโยคไม่มีทั้งคำช่วยを
หรือว่าが
เนื่องจากมันอาจจะถูกละไปในฐานที่เข้าใจหรือถูกแทนที่ด้วย
はหรือも ไปแล้ว
เช่น
®かいぎは 何時に はじまりますか。ประชุมจะเริ่มตอนกี่โมง
(はじまりますเป็นอกรรมกริยา
และ かいぎถูกยกไปเป็นหัวเรื่องจึงใช้คำช่วย
は)
®100ページから はじめましょうか。เรามาเริ่มตั้งแต่หน้า
100 ก็แล้วกัน
(はじめますเป็นสกรรมกริยา
และละกรรมทิ้งไปเนื่องผู้พูดผู้ฟังเข้าใจกันอยู่แล้ว
)
สรุปว่าเพื่อความชัวร์
เซนเซขอแนะนำให้ท่องไปเลยดีกว่า
เพราะมีอยู่ไม่กี่ตัวเอง
สกรรมกริยาและอกรรมกริยาในระดับ N5
ชนิด ความหมาย |
สกรรมกริยา(vt) |
อกรรมกริยา(vi) |
เปิด(ประตู) |
あけます |
あきます |
ปิด(ประตู) |
しめます |
しまります |
เปิด(ไฟ) |
つけます |
つきます |
ปิด(ไฟ) |
けします |
きえます |
จอด,
หยุด |
とめます |
とまります |
ใส่ |
いれます |
はいります |
ออก |
だします |
でます |
เรียง |
ならべます |
ならびます |
เริ่ม |
はじめます |
はじまります |
Vて います |
รูปประโยค
N |
が/は |
Viて อกรรมกริยา |
います |
ใช้แสดงสภาพของกริยาที่เกิดขึ้นแล้วผลยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง
è การบรรยายสภาพที่ปรากฏอยู่ขึ้นมาลอยๆเป็นครั้งแรกใช้คำช่วย
が
ตัวอย่างเช่น
1.
あ、電気がついています。
2.
店の前にタクシーがとまっています。
3.
はこの中にさいふが入っています。
è หากเป็นการบรรยายสภาพของสิ่งที่ชี้เฉพาะเจาะจง
เป็นหัวเรื่องชัดเจน
เช่นอาจจะมีคำว่า
この~、その~
คำช่วยจะเป็น
は
4.
このとけいはとまっています。
5.
あ、あの電気はきえています。
Vて あります |
รูปประโยค
N |
が/は |
Vtて สกรรมกริยา |
あります |
ใช้แสดงสภาพที่เป็นผลของกริยาที่มีผู้ทำทิ้งไว้
わたしはドアをあけました。 สภาพหรือผลที่เกิดขึ้นคือ
ドアがあけてあります。
(ฉันเปิดประตู) (ประตูเปิดอยู่)
わたしはノートに名前を書きました。สภาพหรือผลที่เกิดขึ้นคือ
ノートに名前が書いてあります。
(ฉันเขียนชื่อบนสมุด)
(มีชื่อเขียนอยู่บนสมุด)
ส่วนเมื่อไรจะใช้
が หรือ は
ก็ใช้หลักการแบบเดียวกับ
ています
ข้างบนคือ
ถ้าเป็นเป็นการกล่าวขึ้นมาครั้งแรกลอยๆก็ใช้
が แต่ถ้าเจาะจงบ่งชี้ชัดเจนก็เป็น は
【ตัวอย่าง】
1.
A: あ、まどがあいています。さむくないですか。
อ้าว
หน้าต่างเปิดอยู่
ไม่หนาวเหรอ
B: へやをそうじしますから、あけてあるんです。
เพราะว่าจะทำความสะอาดห้องจึง(ตั้งใจ)เปิดทิ้งไว้น่ะ
2.
へやのかべにポスターがはってあります。
ที่กำแพงห้องมีโปสเตอร์แปะอยู่
3.
こたえは50ページに書いてあります。
คำตอบมีเขียนอยู่ที่หน้า
50
4.
A: つくえの上にざっしがおいてありますか。
บนโต๊ะมีนิตยสารวางอยู่ไหม
B: はい、おいてあります。
ค่ะ
มีวางอยู่ค่ะ
5.
A: あ、すいかがきってありますよ。
อ้าว
มีแตงโมหั่นไว้แล้วนี่
B: じゃ、食べましょう。
งั้น
กินกันเถอะ
เปรียบเทียบ Vて います กับ Vて あります
|
Nが Viて います |
Nが Vtて あります |
1. บรรยายอะไร |
บรรยายสภาพตามที่เห็น |
บรรยายสภาพสิ่งที่มีผู้จงใจกระทำทิ้งไว้ |
2.
คำกริยาที่ใช้ |
อกรรมกริยา (vi) |
สกรรมกริยา (vt) |
แนวข้อสอบ
(1) ドアが しまって____。しめて ください。
1.ありません 2.いません 3.あります 4.います
(2) ノートに なまえが かいて____。
1.あります 2.います 3.します 4.なります
(3) そこのつくえに ボールペンが _____。
1.おきます 2.おきてあります 3.おいています 4.おいてあります
(4) かべに ポスターが はって___。
1.います 2.なります 3.あります 4.します
(5) これは わたしの かさですよ。わたしの なまえが___ あります。
1.かきて 2.かきた 3.かいて 4.かいた
(6) れいぞうこに くだものが 入って ____。
1.です 2.します 3.います 4.あります
(7) へやに テーブルが おいて____。
1.ます 2.します 3.います 4.あります
(8) a「じしょをかしてください。」
b「ごめんなさい、______。」
1.もちません 2.もちませんでした
3.もっていません 4.もってありません
เฉลย
(1)
ตอบ
4 ドアが しまって います。 เพราะ しまります(ปิด)
เป็น Vi
(2) ตอบ 1 なまえが かいて あります。
เนื่องจากคำช่วยเป็น がแสดงว่าเป็นการบอกสภาพ ดังนั้นจึงต้องเป็น
てあります เพราะ かきます(เขียน) เป็น Vt
(3) ตอบ 4
ボールペン が おいて あります。 เนื่องจากคำช่วยเป็น がแสดงว่าเป็นการบอกสภาพ ดังนั้นจึงต้องเป็น
てあります
เพราะ おきます(วาง)
เป็น Vt
(4) ตอบ 3
ポスターが はって あります。 เนื่องจากคำช่วยเป็น がแสดงว่าเป็นการบอกสภาพ ดังนั้นจึงต้องเป็น
てあります
เพราะ はります(แปะ)
เป็น Vt
(5) ตอบ 3
わたしの なまえ が かいて あります。 เนื่องจากคำช่วยเป็น がและมี
ありますอยู่ที่ท้ายประโยคแสดงว่าเป็นการบอกสภาพ
ข้างหน้า あります ต้องเป็นรูป
て
(6) ตอบ 3
れいぞうこに くだものが 入って います。 เพราะ はいります(มีใส่อยู่) เป็น Vi
(7) ตอบ 4
へやに テーブルが おいて あります。เนื่องจากคำช่วยเป็น がแสดงว่าเป็นการบอกสภาพ ดังนั้นจึงต้องเป็น
てあります เพราะ おきます(วาง)
เป็น Vt
(8) ตอบ 3
Nを もっています=มีอยู่ในครอบครอง
รูปปฏิเสธคือ もっていません