วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การใช้ もう และ まだ


もう/まだ

もう = แล้ว     ;     まだ  = ยัง

การใช้ もう/まだ มีอยู่ 2 แบบดังนี้

แบบที่ 1  
          
         もう + Vました   ≠ まだ + Vていません
       ...แล้ว             ยังไม่ได้...
ตัวอย่าง

ถาม: もうひるごはんを食べましたか。กินข้าวกลางวันแล้วหรือยัง
ตอบ(1): はい、もう食べました。กินแล้วค่ะ
ตอบ(2): いいえ、まだ食べていません。ยังไม่ได้กินหรือตอบสั้นๆง่ายๆได้ว่า   「いいえ、まだです。」

แบบที่ 2

                もう +  รูปปฏิเสธ     = ไม่...แล้ว
     
                まだ +    รูปบอกเล่า  =  ยัง...อยู่

ตัวอย่าง

  • A: まだありますか。ยังมีอยู่หรือเปล่า

          B: いいえ、もうありません。ไม่มีแล้ว

  • 雨が まだ ふっています。ฝนยังตกอยู่


แนวข้อสอบ

(1) きのう わたしは たくさん かいものを しました。いま おかねは もう ___。

1.あります 2.ありません   3.ありました 4.ありませんでした

(2) A「コーヒー、もう いっぱい いかがですか。」
     B「いいえ、けっこうです。まだ 入って ___から。」

1.います     2.いません 3.あります 4.ありません

(3) A「さとうさんは もう 来ましたか。」
     B「____。」

1.いいえ、来ませんでした 2.いいえ、まだです

3.はい、そうです 4.はい、もうです


(4) A「みせは あきましたか。」
     B「いいえ、まだ ___ います。」

1.しまる 2.しまり 3.しまって 4.しまった


(5) A「としょかんの 本は かえしましたか。」
     B「いいえ、まだ ___ います。」

1.読みて 2.読みた 3.読んで 4.読んだ




เฉลย
ตอบ 2   ありません  “เมื่อวานซื้อของไปเยอะ ตอนนี้ไม่มีเงินแล้ว”
    [もう   ありません =   ไม่มีแล้ว]
ตอบ 1   います   “รับกาแฟอีกสักแถ้วไหม” “ไม่ล่ะค่ะ ยังมีอยู่(ในแก้วอยู่)เลย”
[まだ 入っています =   ยังมีอยู่(ข้างใน)]
ตอบ 2   いいえ、まだです  “คุณซาโต้มาแล้วหรือยัง ” “ยังค่ะ”
ตอบ 3 いいえ、まだ  しまっています  “ร้านเปิดแล้วใช่ไหม” “ยังปิดอยู่”
ตอบ 3 いいえ、まだ  読んで います  “หนังสือห้องสมุดคืนไปแล้วใช่ไหม” “ยังอ่านอยู่”

เรียนญ๊่ปุ่นออนไลน์ได้ที่ Youtube: Nidnoi Sensei


วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำบ่งชี้ こ・そ・あ



これ/それ/あれ

【ไวยากรณ์】เป็นสรรพนามใช้บ่งชี้สิ่งของ(เล็กใหญ่ ใช้ได้หมด)
  1. これ นี่, สิ่งนี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. それนั่น, สิ่งนั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あれโน่น, สิ่งโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน 
  1. これ นี่, สิ่งนี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. それนั่น, สิ่งนั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あれโน่น, สิ่งโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】


ตัวอย่าง
これはにほんごのしんぶんです。นี่คือหนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น
えいごのじしょはそれです。พจนานุกรมภาษาอังกฤษคืออันนั้น
あれはとしょかんです。โน่นคือห้องสมุด 

 คำถามจะใช้「どれ」 “อันไหน” (กรณีมีของให้เลือกตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ถ้ามี 2 อย่างใช้ どちら)

ตัวอย่าง 
A: あなたのかさはどれですか。ร่มของคุณคือคันไหน 
B: それです。 คันนั้น

この/その/あの

この
その  + คำนาม
あの

【ไวยากรณ์】ใช้กับคำนามเพื่อบ่งชี้สิ่งนั้นๆ
  1. この  -นี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. その-นั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あの-โน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน 
  1. この -นี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. その-นั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あの-โน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】

ตัวอย่าง
  • このへやは きれいです。ห้องนี้สะอาด
  • その本は わたしのです。หนังสือเล่มนั้นเป็นของฉัน
  • わたしの先生は あの人です。อาจารย์ของฉันคือคนนั้น
A: 「あのかばんは だれのですか。」B: 「あれは マリオさんのです。」
A: “กระเป๋าใบโน้นเป็นของใคร”  B: “โน่นเป็นของคุณมาริโอ้”

A: 「あのたてものは 何ですか。」B: 「あれは としょかんです。」
A: “อาคารหลังโน้นเป็นอะไร”  B: “โน่นเป็นห้องสมุด”
  
คำถามจะใช้「どのN」 “ -ไหน”

ตัวอย่าง
A: マリオさんは どの人ですかですか。คุณมาริโอ้คือคนไหน
B: あの ぼうしを かぶっている人です。คนที่สวมหมวกสีแดงคนโน้น

กรณีมี Adj ขยายคำนาม ต้องเรียงแบบนี้ค่ะ  
この/その/あの+ Adj+ N

ตัวอย่าง
あの きれいな女の人は だれですか。 ผู้หญิงสวยๆโน้นเป็นใคร

ここ/そこ/あそこ

【ไวยากรณ์】เป็นสรรพนามใช้บ่งชี้ตำแหน่ง, สถานที่
  1. ここ  ที่นี่, ตรงนี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. そこที่นั่น, ตรงนั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あそこที่โน่น, ตรงโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน
  1.  ここที่นี่, ตรงนี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. そこที่นั่น, ตรงนั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あそこที่โน่น, ตรงโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】

ตัวอย่าง
  • ここはきょうしつです。ที่นี่คือห้องเรียน
  • そこはかいぎしつです。ที่นั่นคือห้องประชุม
  • しょくどうはあそこです。โรงอาหารอยู่ที่โน่น
  • マリオさんのかさはそこにあります。ร่มของคุณมาริโอ้อยู่ที่นั่น
  • あそこにねこがいます。มีแมวอยู่ตรงโน้น


คำถามจะใช้「どこ」 “ที่ไหน, ตรงไหน”

ตัวอย่าง

A: すみません、トイレはどこですか。ขอโทษค่ะ ห้องน้ำอยู่ที่ไหนคะ
B: あそこです。อยู่ที่โน่นค่ะ
A: ありがとうございました。ขอบคุณค่ะ

A: せんせいのくるまはどこにありますか。รถอาจารย์อยู่ที่ไหน
B: あそこです。อยู่ที่โน่นค่ะ  


こちら/そちら/あちら

【ไวยากรณ์】เป็นสรรพนามใช้บ่งชี้ทิศทาง, สถานที่(เป็นคำสุภาพของここ/そこ/あそこ)
  1. こちら  ที่นี่, ทางนี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. そちらที่นั่น, ทางนั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あ ちら ที่โน่น, ทางโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน 
  1. こちらที่นี่, ทางนี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. そちらที่นั่น, ทางนั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あちらที่โน่น, ทางโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】

ตัวอย่าง
  • こちらはポンらーさんです。ทางนี้คือคุณพรหล้า
  • でんわはあちらです。โทรศัพท์อยู่ทางโน้น


คำถามจะใช้「どちら」 “ที่ไหน, ทางไหน”  และ “อันไหน” (ให้เลือกระหว่างของ 2 อย่าง  ถ้ามากกว่า 2 ใช้ どれ

ตัวอย่าง
A: おくにはどちらですか。คุณมาจากประเทศอะไรคะ
B: アメリカです。อเมริกาค่ะ

A: こやま先生は どちらですか。อาจารย์โคะยะมะอยู่ที่ไหนคะ
B: あちらです。อยู่ที่โน่นค่ะ  

A: コーヒーと お茶と どちらが いいですか。กาแฟกับชา รับอะไรดีครับ(เลือกของ2สิ่ง)
B: コーヒーを おねがいします。ขอกาแฟก็แล้วกันค่ะ  




แนวข้อสอบ
(1)____が あなたの かばんですか。
1.どこ 2.どの 3.どれ 4.どんな

(2)「それは ___ の 国の きってですか。」 「日本のです。」
1.なに 2.どれ 3.いつ 4.どこ

(3)「やまもとさん、______は スミスさんです。」「はじめまして。」
1.これ 2.だれ 3. こちら 4.どちら

(4) 先生の へやは______です。
1.その 2. どんな 3. こちら 4. どうして

(5) ___で えいがを 見ますか。
1.どこ 2.どんな 3.どう 4.どのか

(6)「りんごと みかんと ___が すきですか。」「みかんの ほうが すきです。」
1.どこ 2.どう 3.どちら 4.どれ

เฉลย
(1)ตอบ 3  กระเป๋าเป็นสิ่งของใช้ どれ อันไหน
(2)ตอบ 4  ประเทศเป็นสถานที่ใช้ どこ  ที่ไหน
(3)ตอบ 3  ใช้ こちら ”ทางนี้คือคุณสมิส” ใช้เวลาแนะนำคนให้ผู้อื่นรู้จัก 
(4)ตอบ 3  こちら”ห้องอาจารย์อยู่ทางนี้”
(5)ตอบ 1   どこ “จะดูหนังที่ไหน”
(6)ตอบ 3  ใช้ どちら เพราะเป็นคำถามให้เลือกระหว่างของ 2 อย่าง